....... มาตรา 4 .... ผู้ใดออกเช็คเพื่อชำระหนี้ที่มีอยู่จริงและบังคับได้ตามกฎหมาย ..... โดยมีลักษณะหรือมีการกระทำ
อย่างใดอย่างหนึ่งดังต่อไปนี้
( ๑ )... เจตนาที่จะไม่ให้มีการใช้เงินตามเช็คนั้น
( ๒ )... ในขณะที่ออกเช็คนั้นไม่มีเงินอยู่ในบัญชีอันจะพึงให้ใช้เงินได้
( ๓ )... ให้ใช้เงินมีจำนวนสูงกว่าจำนวนเงินที่มีอยู่ในบัญชีอันจะพึงให้ใช้ได้ในขณะที่ออกเช็คนั้น
( ๔ )... ถอนเงินทั้งหมดหรือแต่บางส่วนออกจากบัญชีอันจะพึงให้ใช้เงินตามเช็คจนจำนวนเงินเหลือไม่เพียงพอ
ที่จะใช้เงินตามเช็คนั้นได้
( ๕ ) ...ห้ามธนาคารมิให้ใช้เงินตามเช็คนั้นโดยเจตนาทุจริต
..... เมื่อได้มีการยื่นเช็คเพื่อให้ใช้เงินโดยชอบด้วยกฎหมาย ถ้าธนาคารปฏิเสธไม่ใช้เงินตามเช็คนั้น ผู้ออกเช็ค
มีความผิดต้องระวางโทษปรับไม่เกินหกหมื่นบาท หรือจำคุกไม่เกินหนึ่งปี หรือทั้งปรับทั้งจำ
....... ที่กฎหมายกำหนดไว้เช่นนี้เพราะว่า .. ถ้าใครก็ตามที่ออกเช็คเข้าลักษณะความผิดในมาตรา ๔ .. ไม่ว่าอนุมาตรา
ใดต้องถูกลงโทษตามกฏหมาย
...... มีหลายกรณีที่ผู้ที่ออกเช็คแล้วแต่กฎหมายตามมาตรา ๔ นี้ไม่สามารถลงโทษ และผู้ที่ออกก็ไม่ต้องรับผิดติดคุกด้วย
ในวงการเช็คเรียกว่า " เล่นเช็ค " ... เช็คทำให้หลายธุรกิจ หรือบุคคลร่ำรวยมามากต่อมาก .. และในทางกลับกันก็ทำ
ให้คนติดคุกมาแล้วก็มาก ... การเล่นเช็ค จึงมีทั้งคุณและโทษ .. คนไหนที่รู้วิธีใช้ก็เป็นคุณร่ำรวยได้ . คนไหนไม่รู้จัก
ใช้ก็ยากจนได้เช่นกัน ( และคุกก็จะมาเยือนถึงที่บ้าน )
...... ในวงการธุรกิจส่วนใหญ่แล้ว การซื้อ - ขาย สินค้าที่ต้องชำระเงินกันนั้น .. เช็คถือว่ามีความแน่นอนที่สุด .. ผู้ขาย
สินค้าโดยมากก็ยินดีที่จะรับเช็ค .. เพื่อเรียกเก็บเงินตามที่ขายสินค้าไป .. เพราะใครๆ ก็รู้ว่า ถ้าลูกค้าจ่ายเช็คไม่มีเงิน
ผู้ขายสินค้าสามารถแจ้งความ หรือฟ้องต่อศาลเป็นคดีอาญาให้ติดคุกได้ . เช็คจึงถือว่าเป็นเครดิตระหว่างธุรกิจการค้า
..... แต่บทลงโทษสำหรับผู้ออกเช็คไม่มีเงินนั้นต่ำมาก ... จากมีหลายคนนำเอาเช็คมาใช้ในทางที่ไปก่อหนี้โดยไม่กลัว
ว่าจะติดคุกเลย .. ถ้าถูกฟ้องหรือถูกตำรวจมีหมายเรียก ก็หนี้ไปอยู่ที่อื่น .. ตำรวจก็จับไม่ได้แล้ว อายุความคดีเช็คก็
สั้นมาก
..... มีการใช้เช็คอีกรูปแบบหนึ่ที่เรียกว่า " เล่นเช็ค " .. การเล่นเช็คนั้น ผู้ออกเช็คแม้นจะไม่มีเงินจ่าย แต่กฎหมาย
ก็ไม่สามารถที่จะเอาผิดได้ ... ผู้รับเช็คไปจะเป็นแจ้งความ ตำรวจก็ไม่รับ .. หรือจะจ้างทนายไปฟ้องคดีเอง ก็อาจติดคุก
ฐานฟ้องเท็จ หรือเบิกความเท็จก็ได้ ... หรือบางครั้งศาลอาจไม่ประทับรับฟ้องคดีอาญาไว้พิจารณาเลยก็ได้
.... ต่อไปนี้มาดูกันว่า .. ออกเช็คแบบไหนสามารถแจ้งความตำรวจให้จับตัวมาลงโทษได้เลย หรือฟ้องให้ศาลลงโทษได้เลย
และออกเช็คแบบไหนที่ .. ผู้ถือเช็คไม่สามารถที่จะแจ้งความตำรวจ หรือฟ้องต่อศาลให้ลงโทษได้ ... เช็คมีอายุความฟ้อง
กี่วัน .. กี่เดือน ... กี่ปี ... หนีคดีเช็คได้กี่ปี ... ถ้าไม่หนี้จะทำอย่างไรไม่ต้องใช้หนี้ .. หรือใช้หนี้แต่ช้าหน่อย .. และไม่ติดคุกด้วย